messager
check_circle สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
รอปรับปรุง

info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์-พันธกิจหน่วยงาน
วิสัยทัศน์ “ โครงสร้างพื้นฐานทั่วถึง เศรษฐกิจยั่งยืน สาธารณสุขก้าวหน้า การศึกษามีคุณภาพ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ” พันธกิจ พันธกิจ องค์การบริหารส่วนตำบลปอพาน กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา “ร่วมพัฒนา ร่วมแก้ปัญหา ประชาชนมีส่วนร่วม” แยกได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๑. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ๒. รณรงค์การปลูกป่าชุมชน ๓. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพอนามัย ไม่ตกเป็นทาสยาเสพติด ๔. สร้างสถานออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งศาลาประชาคมทั้งในระดับชุมชนและระดับท้องถิ่น ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริฯ เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจแบบยั่งยืน ๖. ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเพิ่มรายได้ และลดปัญหาการว่างงาน รวมทั้งในการ สนับสนุน ด้านเงินทุก การผลิตและการตลาด ๗. พัฒนาและปรับกลวิธีในเรื่องการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลให้มีลักษณะการจัดการที่ดี ทั้งในเรื่อง ความมีประสิทธิภาพ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและที่สำคัญ ต้องเป็นหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ ๘. ปรับปรุงกระบวนการบริหารงานในทุกขั้นตอนให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพโดยให้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมการบริหารงาน ๙. พัฒนาบุคลิกภาพของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลให้เพรียบพร้อมไปด้วยคุณภาพและคุณธรรมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับศรัทธาของประชาชน ๑๐. จัดให้มีและบำรุงรักษาแหล่งน้ำให้เพียงพอ

check_circle ข้อมูลหน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา บ้านปอพานก่อตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2430 โดยราษฎรจากอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นคนตั้งรกรากขึ้นครั้งแรก ซึ่งราษฎรดังกล่าวมีความประสงค์จะไปค้าขายที่เมืองล่าง (ภาคกลาง) แต่ยังไม่ถึงพอคาราวานเกวียนมาถึงเนินป่าทึบมีลำห้วยเล็ก ๆ ไหลผ่านก็เลยพักชั่วคราว เห็นว่าเป็นที่อุดมสมบูรณ์ เลยถือโอกาสตั้งหมู่บ้านขึ้นบริเวณห้วยเหล่านี้มีต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งใบค่อนข้างใหญ่ เปลือกเหนียวใช้ทำเชือกได้ ต้นไม้ชนิดนี้ปรากฏว่ามีอยู่ทางร้อยเอ็ดเป็นจำนวนมาก เรียกชื่อว่าต้นปอพาน ดังนั้นลำห้วยที่มีต้นไม้นี้มาก มีชื่อว่า “ห้วยปอพาน” และหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่ก็ตั้งอยู่ติดกับลำห้วยนี้ จึงเรียกว่าบ้าน “ ปอพาน ” ต่อมามีหมู่บ้านใกล้เคียงอพยพมารวมกันมากขึ้น จึงมีการคัดเลือกผู้นำหมู่บ้านขึ้นผู้นำครั้งนั้นมียศว่าจ่าบ้าน คนที่ได้รับคัดเลือกเป็นจ่าบ้านครั้งแรกคือ นายหาญชนะ (ขณะนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล) และจ่าบ้านปกครองต่อมาอีกหลายคนแต่ก็ไม่มีชื่อเสียงเท่ากับจ่าหาญชนะ เมื่อมีการตั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอขึ้น บ้านปอพานได้ขึ้นอยู่กับตำบลนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ต่อมาแยกเป็นตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลปอพาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอนาเชือก ระยะทางห่างจากอำเภอนาเชือก 12 กิโลเมตร พื้นที่ทั้งหมด 87.04 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 54,395 ไร่ มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ได้แก่ ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 3020 และมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลสำโรงและตำบลหนองแดง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลสระแก้ว อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ประชากรในตำบลปอพาน มีทั้งสิ้น 8,037 คน ประกอบด้วย เพศชาย จำนวน 3,987 คน เพศหญิง 4,050 คน หมู่บ้านที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดคือ หมู่ที่ 1 บ้านปอพาน มีจำนวนประชากร 1,005 คน และหมู่บ้านที่มีประชากรหนาแน่นน้อยที่สุด คือ หมู่ที่ 10 บ้านหลุบเปือย มีจำนวนประชากร 109 คน ส่วนจำนวนครัวเรือนโดยรวมทั้งตำบลมีทั้งสิ้น 2,038 ครัวเรือน สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คนต่อ ครัวเรือน จำนวนประชากรและครัวเรือน หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร ชาย หญิง รวม ครัวเรือน 1 ปอพาน 495 510 1,005 252 2 ปอพานสอง 184 195 379 117 3 หนองโน 242 234 476 126 4 โนนแร่ 369 405 774 176 5 กุดหลวง 309 289 598 141 6 หนองสระ 161 161 322 80 7 หนองบัว 276 266 542 150 8 เหล่าค้อ 157 140 297 75 9 เหล่าคา 216 240 456 114 10 หลุบเปือย 60 49 109 35 11 แสงอรุณ 390 377 767 187 12 เหล่าค้อใหม่ 283 292 575 145 13 สระใหม่สามัคคี 190 208 398 98 14 ปอพานสาม 227 239 466 135 15 หนองโนใหม่ 236 248 484 114 16 เหล่าค้อสอง 192 197 389 93 รวม 3,987 4,050 8,037 2,038